|
|
|
|
|
กลุ่มอาการดาวน์ (Down Syndrome) คืออะไร
Down Syndrome เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติทางโครโมโซม และเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดในกลุ่มโรคที่ทำให้เกิดภาวะปัญญาอ่อน เด็กกลุ่มอาการดาวน์เหล่านี้จะมีโครโมโซม 47 โครโมโซม ซึ่งในความเป็นจริงคนปกติจะมีโครโมโซม 46 โครโมโซมต่อ 1 เซลล์ โดยสาเหตุที่พบบ่อยเกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 โครโมโซม เรียกว่า Trisomy 21 การให้กำเนิดเด็กกลุ่มอาการดาวน์พบได้ในผู้หญิงทั่วไป ไม่จำกัดเชื้อชาติ สังคม และชนชั้น
ลักษณะของเด็กอาการดาวน์
โดยทั่วไปแล้วเด็กกลุ่มอาการดาวน์ (Down Syndrome) จะมีความผิดปกติใน 3 ด้านหลักๆ ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ และระดับสติปัญญา
ลักษณะทางร่างกาย พบว่าเด็กจะมีรูปร่างท้วมใหญ่ คอสั้น กะโหลกศีรษะเล็ก มีแผ่นหลังแบน รูปร่างของใบหน้าจะมีลักษณะเฉียงขึ้น ตาห่างและชี้ขึ้นข้างบน จมูกเล็กแบน ผิวหนังระหว่างตาจะมีรอยย่น มีลิ้นขนาดใหญ่และคับปาก หูส่วนนอกอยู่ต่ำ และมีคางขนาดเล็ก มือกว้างและสั้น นิ้วก้อยโค้งงอ ลายมือมีลักษณะมีเส้นขวางฝ่ามือ (Simian line) นอกจากนี้ ในระบบของกล้ามเนื้อและกระดูกพบว่า มีความตึงตัวของกล้ามเนื้อน้อย ข้อต่อยืดได้มาก (Hyperextensive Joint) กล้ามเนื้ออ่อนแรง ระบบผิวหนังมีความยืดหยุ่นน้อย ซึ่งมีผลต่อพัฒนาการ โดยจะทำให้การเรียนรู้เกี่ยวกับการทำงาน ของกล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็กช้ากว่าปกติ ดังนั้น เด็กจะมีปัญหาในการชันคอ นั่ง ยืน และเดินทุกขั้น ตอนช้ากว่าปกติ
ภาวะทางอารมณ์และพฤติกรรม ส่วนมากเด็กกลุ่มอาการดาวน์จะมีความอ่อนโยน ยิ้มแย้ม แจ่มใส อารมณ์ดี หัวอ่อน สอนง่าย ร่าเริง เข้ากับผู้อื่นได้ดี แต่มักจะมีภาวะอาการสมาธิสั้น
ด้านสติปัญญา เด็กกลุ่มอาการดาวน์จะมีระดับสติปัญญา (IQ) ต่ำกว่าเด็กปกติ อย่างไรก็ตาม เด็ก กลุ่มนี้จะมีระดับสติปัญญาแตกต่างกันหลายระดับ ซึ่งพบว่า เด็กที่ยิ่งมีระดับสติปัญญาต่ำก็จะมีปัญหาทาง พัฒนาการในด้านอื่นๆ มากขึ้นตามไปด้วย
ปัญหาหลักของเด็กกลุ่มอาการดาวน์
ปัญหาหลักที่พบในเด็กกลุ่มนี้ คือจะมีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ มีลักษณะโครงสร้างของกระดูกผิดปกติ มีภาวะอาการโรคหัวใจ และกระบวนการเผาผลาญสารอาหารในร่างกายไม่สมบูรณ์ นอกจากนี้แล้ว เด็กกลุ่ม อาการดาวน์ยังมีพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่ล่าช้า ส่งผลให้มีความรู้ความเข้าใจไม่เป็นไปตามเกณฑ์อายุ มีพัฒนาการด้านการพูดที่ล่าช้ากว่าปกติ อีกทั้งยังมีปัญหาด้านการได้ยินและด้านสายตา
แนวทางการบำบัดรักษาเด็กกลุ่มอาการดาวน์
เด็กกลุ่มอาการดาวน์มีปัญหาเช่นเดียวกับเด็กที่เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ชนิด อื่นๆ คือไม่มีทางรักษาให้ หายเป็นปกติได้ การรักษาจึงมุ่งเน้นการให้การบำบัดเพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ใน ชีวิตประจำวัน แต่สิ่งที่สำคัญ คือ การให้การยอมรับจากบุคคลในครอบครัวเพื่อเอื้อให้เด็กได้รับโอกาสในการบำบัด รักษาที่ถูกวิธี และเน้นการบำบัดรักษาแบบผสมผสานในด้านต่างๆ ได้แก่
ด้านการแพทย์ : เนื่อง จากเด็กกลุ่มนี้จะมีภาวะอาการของโรคอื่นๆ ร่วมอยู่ด้วย เช่น โรคหัวใจ หรือปัญหาด้านการได้ยิน และด้านสายตา จึงควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
ด้านกิจกรรมบำบัด : เป็น การบำบัดรักษา โดยเน้นการกระตุ้นพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก การทำงานประสานกันของมือและตา เช่น การหยิบจับ การเขียน การปั้น การตัดกระดาษ เป็นต้น รวมถึงการส่งเสริมการช่วยเหลือตนเอง ได้แก่ การรับประทานอาหารด้วยตนเอง การสวม-ถอดเสื้อผ้า ทักษะการเล่น และทักษะด้านสังคม
ด้านการแก้ไขการพูด : เป็น การช่วยลดปัญหาด้านการพูด ซึ่งเด็กกลุ่มอาการดาวน์มักจะพูดช้า พูดไม่ชัด หรือมีพัฒนาการด้านภาษาไม่สมวัย โดยนักแก้ไขการพูดจะทำการประเมิน และจัดโปรแกรมการฝึกพูดแก่เด็กเป็นรายบุคคล
ด้านการศึกษาพิเศษ : เนื่อง จากเด็กกลุ่มอาการดาวน์จะมีระดับสติปัญญาต่ำกว่าเด็กปกติ จึงเกิด ปัญหาด้านการเรียนรู้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องได้รับการฝึกสอนจากนักการศึกษาพิเศษเพื่อซ่อมเสริมความสามารถ และทักษะด้านการเรียนรู้ให้ดีมากขึ้น
คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับคุณพ่อคุณแม่
เด็กกลุ่มอาการดาวน์จะพบความผิดปกติได้ตั้งแต่แรกเกิด ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถรับรู้ และทำความเข้าใจในปัญหาของเด็กกลุ่มนี้ได้ตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อส่งเสริม และสนับสนุนให้เด็กได้รับการกระตุ้นพัฒนาการอย่างถูกต้องและต่อเนื่องตามแต่ ละช่วงอายุ ได้แก่
วัยทารก : เด็กจะมีความอ่อนปวกเปียกของกล้ามเนื้อ พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวช้ามาก คุณพ่อ คุณแม่จึงควรจะฝึกให้ลูกได้รับการกระตุ้นด้านการเคลื่อนไหว การพลิกตัว การตะแคงตัว การนั่ง และ การคลาน เป็นต้น
วัยก่อนเข้าเรียน : การกระตุ้นพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และกล้ามเนื้อมัดเล็กควรมีความซับซ้อนและยากมากขึ้น เช่น การวิ่ง เล่น การว่ายน้ำ การกระโดด การขีดเขียน การระบายสี การปั้นดินน้ำมัน การฉีกหรือการตัดกระดาษ เป็นต้น นอกจากนี้ ควรมีการเพิ่มทักษะความสามารถด้านการรับรู้เรียนรู้ ตัวอย่างเช่น การเล่านิทานให้ฟัง การสอนเรียกสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ภายในบ้าน และเพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้ลูกสามารถทำกิจวัตรประจำวันง่าย ๆ ด้วยตัวเอง เช่น ทานข้าว แปรงฟัน แต่งตัว เป็นต้น
วัยเข้าเรียน : ในระยะนี้นอกเหนือไปจากการดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวันของเด็กแล้ว คุณพ่อคุณแม่ ต้องคำนึงถึงการวางแผนด้านการเรียน การส่งเสริมทักษะด้านการพูด การติดต่อสื่อสาร การเข้าสังคม รวม ถึงการฝึกทักษะการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดเล็ก เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเขียนหนังสือ อีกทั้งยังควร สนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมทักษะด้านการเรียนรู้ อื่น ๆ อีกด้วย
ในความเป็นจริงแล้ว การสอนเด็กกลุ่มอาการดาวน์ก็เหมือนกับการสอนเด็กปกติ เพียงแต่ต้องเน้น การสอนซ้ำๆ ย้ำบ่อยๆ และช้าๆ และการสอนก็ควรเริ่มจากเรื่องง่ายๆ หรือจากเรื่องใกล้ตัวเด็ก ตัวอย่างเช่น การสอนให้รู้จักผลไม้ คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกได้จับ ได้ทาน และได้เห็นภาพของผลไม้ เป็นต้น สุดท้ายนี้อาจ กล่าวได้ว่า ความสามารถและศักยภาพของลูกจะเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความอดทน พยายาม การดูแลเอาใจใส่ ความรัก และความอบอุ่นของคุณพ่อคุณแม่ที่มีต่อลูกน้อย เนื่องจากเด็กที่ได้รับโอกาสส่งเสริมสนับสนุน การกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องเหมาะสม และต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอจะสามารถเพิ่มศักยภาพ และความ สามารถของเด็ก | |
081-9051630 คุณ สมคิด จินดามาตย์ |
สถิติวันนี้ |
2 คน |
สถิติเมื่อวาน |
1 คน |
สถิติเดือนนี้ |
64 คน |
สถิติปีนี้ |
8524 คน |
สถิติทั้งหมด |
54023 คน |
เริ่มเมื่อ 2009-03-11 | |
autistic.tht.in
ศูนย์ฝึกพัฒนาเด็กพิการทางสมอง เลขที่ 48 ตำบลลำโพ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี บริการให้คำปรึกษาทุกวันเวลา 8.00 - 17.00 น. โทร. 081-9051630 คุณ สมคิด จินดามาตย์ |